ตอนที่ 7 : คำว่า "ธรรมกาย" คืออะไร ?

ลุงแสง  ส่องหล้า ตอน 7


คำว่า “ธรรมกาย” คืออะไร?

               ตื่นเถิดชาวพุทธ “ธรรมกาย” เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติจริงหรือ?? ถ้าติดตามตอนต่อไปท่านจะได้คำตอบ

               คุณจเด็จ สิบเอ็ดทิศ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “วันใดวันหนึ่งข้างหน้านี้ในระยะใกล้นี้ หากเราต้องต่อสู้เพื่อปกป้องศาสนาพุทธให้พ้นจากการรุกรานของ #ศาสนาอื่น เช่น หยุดยั้งการกลืนกินชาวพุทธ หยุดยั้งการเผยแผ่ศาสนาในเชิงการเมือง และการก่อการร้ายทางศาสนา...ฯลฯ ทุกท่านคิดไหมว่า ลำพัง #รัฐบาล และองค์กรที่ดูแลศาสนามีพลังในการต่อสู้ปกป้องศาสนาหรือไม่?? 




               “องค์กรธรรมกายแข็งแกร่งโคตรๆ และแข็งในนามของ #พุทธศาสนา แบบชัดๆ ด้วยรูปลักษณ์ อัตลักษณ์ และสัญลักษณ์สากล”



                 ขอบคุณ คุณจเด็จที่เข้าใจ “ธรรมกาย” ถูกต้องทุกประการเพื่อสืบสานมโนปณิธานของ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ที่จะเผยแผ่วิชชาธรรมกายออกไปทั่วโลก เพื่อให้เกิดสันติภาพ สันติสุข แก่มวลมนุษย์ตลอดไป คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง (แม่ชีจันทร์-ปัดระเบิด) ศิษย์เอกของหลวงพ่อสดจึงได้พาลูกศิษย์ คือ หลวงพ่อธัมมชโย (พระเทพญาณมหามุนี) (ซึ่งมาเรียนธรรมปฏิบัติกับคุณยายตั้งแต่เป็นนักศึกษา จนจบปริญญาตรีที่ ม.เกษตร และบวชทันทีที่วัดปากน้ำ) มาสร้างวัดพระธรรมกาย ตามที่ทุกท่านทราบกันดีแล้ว 

               ลุงอยากให้ทุกท่านได้รู้จัก “หลวงพ่อธัมมชโย” ว่าเป็นใครมาจากไหน? ทำไมถึงถูกโจมตี ใส่ร้ายป้ายสีท่าน...?? ลุงได้อ่านเรื่องท่านจากหนังสือ “20 ปี วัดพระธรรมกาย” ดังนี้

               หลวงพ่อธัมมชโย (ไชยบูลย์ สิทธิผล) ลูกชายนายจรรยงค์ นายช่างใหญ่กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ย้ายไปทำงานในต่างจังหวัด เด็กชายไชยบูลย์ต้องอยู่ตามลำพังตั้งแต่เด็ก เนื่องจากเป็นเด็กดี แทนที่จะไปเที่ยวเตร่อย่างเด็กวัยรุ่นทั้งหลาย กลับไปสนามหลวง อ่านหนังสือธรรมะตามแผงหนังสือตั้งแต่เรียนอยู่มัธยม สนใจฝึกสมาธิตั้งแต่เรียนอยู่โรงเรียนสวนกุหลาบ ได้อ่านหนังสือ “ธรรมกาย” เขียนตามแนวเทศนาของพระมงคลเทพมุนี ข้อความตอนหนึ่งว่า “ถ้าจะเดินให้ถูกต้องร่องรอยของพระศาสนาต้องปฏิบัติให้ได้ทั้งรู้ทั้งเห็น” สะดุดใจคำว่า “ธรรมกาย” คือ ตถาคต คำบาลี “ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ แปลว่า ตถาคตคือ “ธรรมกาย” 




               ปี 2506 สอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ ก็เริ่มคิดวางแผนไว้ในใจว่า จะเริ่มปฏิบัติธรรมควบคู่กับการศึกษาทางโลก จบแล้วจะบวช เพื่อเผยแผ่ “วิชชาธรรมกาย” ตามรอยหลวงพ่อวัดปากน้ำ จึงไปวัดปากน้ำ เรียนปฏิบัติธรรมกับคุณยายอาจารย์จันทร์ ได้รับผลการปฏิบัติธรรมเป็นอัศจรรย์ มีประสบการณ์ทั้งรู้ทั้งเห็น ตามขั้นตอนเป็นลำดับ เริ่มเห็นดวงปฐมมรรค ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุติ ดวงวิมุติญาณทัสสนะ เห็นกายในกายเรื่อยไปตามลำดับ จนถึงพระธรรมกาย
ไปกราบคุณยายขอบวชขณะยังเป็นนักศึกษาอยู่ คุณยายบอกว่ายังบวชไม่ได้ ให้จบปริญญาก่อน และพูดต่อว่า “ความรู้ต้องคู่คุณธรรม” คุณไชยบูลย์ เข้าใจความหมายนั้น จึงตั้งใจฝึกฝนธรรมปฏิบัติอีกหลายปีจนกระทั่งจบการศึกษาได้รับปริญญา 






ติดตามต่อนะครับ
...ลุงแสง  ส่องหล้า...


EmoticonEmoticon