ตอนที่ 8 : คำว่า "ธรรมกาย" คืออะไร ?

ลุงแสง  ส่องหล้า ตอน 8


วัดพระธรรมกาย” ชื่อนี้สำคัญไฉน? ตามลุงมาจะพาไปทัศนา...!!!

              คุณไชยบูลย์ หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ขออนุญาตโยมพ่อบวชไม่สึกตลอดชีวิตในปี พ.ศ.2512 เมื่ออุทิศชีวิตแด่พระศาสนาที่วัดปากน้ำ ได้รับฉายาว่า “ธัมมชโย” แปลว่า “ผู้ชนะโดยธรรม” ท่านก็คือ หลวงพ่อธัมมชโย (พระเทพญาณมหามุนี) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย



             หลังจากนั้นไม่นาน คุณเผด็จ หลวงพ่อทัตตชีโว (พระราชภาวนาจารย์) รองเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นรุ่นพี่หลวงพ่อธัมมชโยที่ ม.เกษตรฯ จบปริญญาตรีแล้วก็บวชตามซึ่งเป็นท่านกำลังสำคัญในการบุกเบิกสภาวัด ด้วยความลำบากแสนเข็ญ




               คุณยายอาจารย์จันทร์ มุ่งมั่นสืบสานมโนปณิธานของ หลวงพ่อวัดปากน้ำ ได้รวบรวมหมู่คณะศิษยานุศิษย์ช่วยกันบุกเบิก ท้องนาฟ้าโล่งเนื้อที่ 169 ไร่ ที่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งได้รับบริจาคจากคุณหญิงประหยัด แพทยพงศาวิสุทธาธิบดี และได้เริ่มสถาปนา “ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม” ในวันมาฆบูชา พ.ศ.2513 ด้วยทุนเริ่มต้น 3,200 บาท ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ได้ชื่อว่า “วัดพระธรรมกาย” เพื่อให้สอดคล้องกับการเผยแผ่วิชชาธรรมกายภายใต้แนวคิด “สร้างวัดให้เป็นวัด สร้างพระให้เป็นพระ สร้างคนให้เป็นคนดี






               วัดพระธรรมกายเติบใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมา จนกระทั่งพื้นที่ 196 ไร่คับแคบ บัณฑิตที่จบจาก ม.เกษตรฯ และมหาลัยอื่นๆ ทั่วประเทศ เข้ามาบวชมากมาย เพราะ “ธรรมกาย” พิสูจน์ได้ “ทั้งรู้ทั้งเห็นตามความเป็นจริง” ผู้จบระดับปริญญาโท ปริญญาเอกหลากหลายสาขาวิชา ทั้งนายแพทย์ สถาปัตถ์ วิศวะ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ก็เข้ามาบวชเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเพื่อประกาศธรรมะของพระพุทธองค์ พื้นที่ 196 ไร่ คับแคบลงดังนั้น ต้นปี พ.ศ.2527 หลวงพ่อธัมมชโยจึงมีดำริขยายพื้นที่ออกให้อีก 2,000 ไร่ เพื่อรองรับการขยายของพระพุทธศาสนาในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาและสังคมไทย โดยได้รับการสนับสนุนทั้งในด้านกำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์ จากสาธุชนผู้ใจบุญ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ




               หลวงพ่อธัมมชโย ได้อาศัยพุทธสถานอันศักดิ์สิทธิ์ และที่รักยิ่งแห่งนี้ เป็นสถานที่สอนธรรมปฏิบัติ และเผยแผ่พระพุทธศาสนา “วิชชาธรรมกาย” และปลูกฝังศีลธรรม เพื่อสันติสุขแก่มวลมนุษยชาติ ตลอด 40 กว่าปี ที่ผ่านมา และในอนาคตพุทธสถานแห่งนี้ จะเป็นสมบัติของแผ่นดิน และเป็นมรดกที่ล้ำค่าของพระพุทธศาสนาสืบต่อไป... บุคคลเช่นนี้ละหรือ? ที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ #และถูกโจมตี ใส่ร้ายป้ายสีสารพัด #ความยุติธรรมในผืนแผ่นดินไทยยังคงมีอยู่ไหม?...!!! 






พบกันตอนต่อไป 
ผลงานของวัดพระธรรมกาย
...ลุงแสง  ส่องหล้า...


EmoticonEmoticon